เมนู

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด 7 วัน
ครั้งนั้นแล พอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธิ
นั้น ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งผู้มักตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอแล และธรรมที่ทำบุคคลให้
เป็นพราหมณ์เป็นไฉน.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่มัก
ตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีตนอัน
สำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกไหน ๆ พราหมณ์นั้นควร
กล่าววาทะว่าเป็นพราหมณ์โดยชอบธรรม.

จบอชปาลนิโครธสูตรที่ 4*

อรรถกถาอชปาลนิโครธสูตร

1

อชปาลนิโครธสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อชปาลนิโคฺรเธ ความว่า ได้ยินว่า คนเลี้ยงแพะทั้งหลาย
ได้ไปนั่งที่ร่มเงาต้นนิโครธ (ต้นไทร) นั้น เพราะฉะนั้น ต้นนิโครธ
* พม่าเป็น หุํหุยกสูตร.

นั้น จึงชื่อว่าอชปาลนิโครธนั่นแล. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะ
เหตุที่พวกพราหมณ์เก่า ๆ ไม่สามารถจะท่องพระเวททั้งหลายในที่นั้น
ได้ จึงทำที่อยู่อาศัยอันประกอบด้วยล้อมรั้ว แล้วทั้งหมดพากันอยู่ ฉะนั้น
ต้นไม้นั้น จึงเกิดชื่อว่าอชปาลนิโครธ. ในข้อนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้
ชื่อว่า อชปา เพราะร่ายมนต์ไม่ได้ อธิบายว่า สาธยายมนต์ไม่ได้ ชื่อว่า
อชปาละ เพราะเป็นที่ถือ คือจับจองที่อาศัยของผู้ร่ายมนต์ไม่ได้. อาจารย์
อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะเหตุที่ต้นไม้นั้นปกปักรักษาพวกแพะที่เข้าไป
อยู่ภายในเวลาเที่ยงด้วยร่มเงาของตน ฉะนั้น ต้นไม้จึงเกิดชื่อว่าอชปาละ
รักษาแพะ. นั่นเป็นชื่อของต้นไม้นั้น แม้ทุกชื่อ. ที่ใกล้ต้นไม้นั้น. จริงอยู่
บทว่า อชปาลนิโคฺรเธ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้.
บทว่า วิมุตฺติสุขํ ปฏิสํเวที ความว่า เมื่อทรงพิจารณาธรรมแม้ที่
ต้นอชปาลนิโครธนั้น ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข. ต้นไม้นั้นมีอยู่ในด้าน
ปุรัตถิมทิศแต่โพธิพฤกษ์. ก็บทว่า สตฺตาหํ นี้ ไม่ใช่เป็นสัปดาหะติดต่อ
กับสัปดาหะที่ทรงนั่งขัดสมาธิ. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้ง
อยู่ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นเอง ตลอด 3 สัปดาหะ นอกจากสัปดาหะที่
ทรงนั่งขัดสมาธิ. ในข้อนั้นมีอนุบุพพิกถาดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ แล้ว
ประทับนั่งขัดสมาธิตลอดสัปดาห์หนึ่ง เทวดาบางพวกเกิดความสงสัยขึ้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จออก ธรรมอันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า
แม้อย่างอื่นยังมีอยู่หรือหนอ. ครั้นในวันที่ 8 พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
จากสมาบัติ ทรงทราบความสงสัยของพวกเทวดา จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศ
เพื่อกำจัดความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น แล้วแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประทับ

ยืนทางด้านทิศอุดร อันเฉียงไปทางทิศปราจีน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
เยื้องกับบัลลังก์ ทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์ อันเป็น
สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีที่ทรงสะสมมาตลอด 4 อสงไขย ยิ่งด้วย
แสนกัป ทรงยับยั้งอยู่สัปดาห์หนึ่ง สถานที่นั้น จึงเกิดชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรมในที่รัตนจงกรมอันยาวทางด้าน
ปุรัตถิมทิศและปัจฉิมทิศ ระหว่างบัลลังก์กับที่ประทับยืน ทรงยับยั้งอยู่
สัปดาห์หนึ่ง. สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์. ทางด้านปัจฉิม-
ทิศจากสถานที่นั้น เทวดาเนรมิตเรือนแก้ว ทรงประทับนั่งสมาธิใน
เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎกอันเป็นสมันตปัฏฐานอนันตนัย
โดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ 1 สัปดาห์ สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.
ทรงยับยั้งอยู่ 4 สัปดาห์ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ด้วยอาการอย่างนี้ ใน
สัปดาห์ที่ 5 เสด็จจากโพธิพฤกษ์เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ ทรงประทับ
นั่งสมาธิ ณ ควงต้นอชปาลนิโครธนั้น.
บทว่า ตมฺหา สมาธิมฺหา วุฏฺฐาสิ ความว่า ออกจากสมาธิ คือ
ผลสมาบัตินั้น ตามเวลาที่กำหนดไว้ ก็แล ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ออกจากสมาบัติแล้วประทับนั่ง ณ ที่นั้นอย่างนี้ พราหมณ์คนหนึ่งมาหา
พระองค์ทูลถามปัญหา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข
อญฺญตโร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญตโร ได้แก่ พราหมณ์คนหนึ่ง
ไม่มีชื่อเสียง ไม่ปรากฏนามและโคตร. บทว่า หุหุงฺกชาติโก ความว่า
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นเป็นทิฏฐมังคลิกะ มีมานะจัด เห็นสิ่งทุกอย่างมี
กำเนิดต่ำ จึงเกลียด เที่ยวทำเสียง หึ หึ ด้วยอำนาจมานะและความโกรธ.

เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียก (พราหมณ์นั้น) ว่า หุหุงกชาติกะ บาลีว่า
หุหุกฺกชาติโก ดังนี้ก็มี. บทว่า พฺราหฺมโณ ได้แก่ เป็นพราหมณ์โดย
กำเนิด.
บทว่า เยน ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ
ทิศใด. ก็คำว่า เยน นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. อีก
อย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดาและมนุษย์พึงเข้าไปเฝ้าโดยทิศ
ใด พราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าโดยทิศนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เยน เป็น
ตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดา
และมนุษย์พึงเข้าไปเฝ้าเพราะเหตุใด พราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าเพราะเหตุนั้น.
ก็เพราะเหตุไร จึงต้องเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ? เพราะเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายผู้มีจิตกระสับกระส่าย เพราะถูกพยาธิคือกิเลสต่าง ๆ บีบคั้น
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุมีการฟังธรรมและถามปัญหา
เป็นต้น เพื่อเยียวยาพยาธิคือกิเลส เหมือนหมอผู้มีอานุภาพมาก อันมหาชน
ผู้มีกายกระสับกระส่าย เพราะถูกโรคและทุกข์มีประการต่าง ๆ เบียดเบียน
จึงเข้าไปหาเพื่อเยียวยาโรค ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์แม้นี้ ประสงค์จะตัด
ความสงสัยของตนจึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นบทแสดงการสิ้นสุดของการไปเฝ้า. อีก
อย่างหนึ่ง ความว่า เข้าไปยังสถานที่ที่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้า จากที่
ที่เขาเข้าไปเฝ้า. บทว่า สมฺโมทิ ได้แก่ เบิกบานอยู่เสมอ หรือโดยชอบ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบันเทิงอันพราหมณ์ให้เป็นไป ถึงพราหมณ์
เล่าก็เป็นผู้บันเทิง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไป ด้วยการทำปฏิสันถาร
มีอาทิว่า ท่านผู้เจริญ ยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นได้หรือ.

บทว่า สมฺโมทนียํ ได้แก่ ควรแก่ความบันเทิง คือเหมาะแก่การ
ให้เกิดความบันเทิง. บทว่า กถํ ได้แก่ การเจรจาปราศรัย. บทว่า
สาราณียํ ได้แก่ ควรระลึก คืออันคนดีพึงให้เป็นไป หรือพึงคิดในเวลา
อื่น. บทว่า วีติสาเรตฺวา แปลว่า ให้สำเร็จ. บทว่า เอกมนฺตํ เป็นบท
แสดงภาวะนปุงสกลิงค์. อธิบายว่า ในที่แห่งหนึ่ง คือในส่วนหนึ่ง เว้น
โทษของการนั่ง 6 อย่าง มีการนั่งตรงหน้าเกินไปเป็นต้น. บทว่า เอต-
ทโวจ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ คือคำที่จะพึงตรัสในบัดนี้
มีอาทิว่า กิตฺตาวตา นุ โข ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิตฺตาวตา แปลว่า โดยประมาณเท่าไร.
บทว่า นุ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า สงสัย. บทว่า โข เป็นนิบาต ใช้
ในอรรถว่า ทำบทให้เต็ม. บทว่า โภ เป็นอาลปนะ ร้องเรียกชาติของ
พราหมณ์. สมจริงดังคำที่กล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้นชื่อว่า โภวาที พราหมณ์
นั้นแลเป็นผู้ยังมีกิเลสเครื่องกังวล.
พราหมณ์ร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระโคตรว่า โคตมะ.
ถามว่า ก็อย่างไร พราหมณ์นี้ มาถึงเดี๋ยวนี้จึงได้ทราบพระโคตรของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ? ตอบว่า พราหมณ์นี้ไม่ใช่มาถึงเดี๋ยวนี้, พระองค์เสด็จ
เที่ยวไปกับพระปัญจวัคคีย์ ผู้อุปัฏฐากในคราวบำเพ็ญเพียร 6 พรรษาก็ดี
ภายหลังทรงละทิ้งวัตรนั้น เสด็จเที่ยวบิณฑบาตพระองค์เดียว ไม่มีเพื่อน
สอง ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมก็ดี พราหมณ์นั้นเคยเห็นและเคยเจรจา.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงหวนระลึกถึงพระโคตรของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า อันพระปัญจวัคคีย์รับนับถือในกาลก่อน จึงได้ร้องเรียก

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระโคตรว่า โภ โคตม. อีกอย่างหนึ่ง จำเดิม
แต่เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ที่ฝั่งแม่น้ำอโนมา-
นที พระองค์เป็นผู้ปรากฏเหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ รู้กันทั่วไป
ว่า พระสมณโคดม ไม่จำต้องค้นหาเหตุในการรู้พระโคตรของพระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น.
บทว่า พฺราหฺมณกรณา ความว่า ชื่อว่าพราหมณกรณา เพราะ
กระทำความเป็นพราหมณ์ อธิบายว่า กระทำภาวะว่าเป็นพราหมณ์. ก็ใน
คำนั้นด้วยคำว่า กิตฺตาวตา นี้ พราหมณ์ทูลถามถึงปริมาณแห่งธรรมอัน
เป็นเหตุให้เป็นพราหมณ์. ก็ด้วยคำว่า กตเม นี้ ทูลถามถึงความสรุป
ธรรมเหล่านั้น.
บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งความนี้อัน
เป็นจุดยอดแห่งปัญหาที่พราหมณ์นั้นทูลถาม จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลา
นั้น. แต่พระองค์มิได้ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์นั้น. เพราะเหตุไร ?
เพราะพราหมณ์ยังไม่เป็นที่รองรับพระธรรมเทศนา. จริงอย่างนั้น
พราหมณ์นั้นได้ฟังคาถานี้แล้ว ก็หาได้ตรัสรู้สัจจะไม่. และการประกาศ
พุทธคุณแก่อุปกาชีวก เหมือนการประกาศแก่พราหมณ์นี้. จริงอยู่ พระ-
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในส่วนเบื้องต้น ก่อนการประกาศพระ-
ธรรมจักร เฉพาะเป็นส่วนแห่งวาสนาแก่คนเหล่าอื่นผู้ได้สดับ เหมือนให้
สรณะแก่ตปุสสะและภัลลิกะ. (พาณิช 2 พี่น้อง) ไม่ใช่เป็นส่วนแห่งพระ-
เสขะและมิใช่เป็นส่วนแห่งการตรัสรู้. ความจริง ข้อธรรมนั้นเป็นธรรมดา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย พฺราหฺมโณ ความว่า บุคคลใด
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะลอยบาปธรรมได้ เป็นผู้ประกอบด้วยบาปธรรม

มีการตวาดว่า หึ หึ ดุจน้ำฝาดเป็นต้น. เพราะเป็นทิฏฐิมังคลิกะ ยัง
ปฏิญญาตนว่าเป็นพราหมณ์ โดยเพียงชาติอย่างเดียว ก็หาไม่ บุคคลนั้น
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยบาปธรรมได้ ชื่อว่าปราศจากกิเลสที่ขู่
ผู้อื่นว่า หึ หึ เพราะละกิเลสที่ขู่ผู้อื่นว่า หึ หึ ได้ ชื่อว่าไม่มีกิเลสดุจน้ำ
ฝาด เพราะไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีราคะเป็นต้น ชื่อว่ามีความเพียรเป็น
สภาวะ เพราะมีจิตประกอบด้วยภาวนานุโยค หรือชื่อว่าสำรวมตนแล้ว
เพราะมีจิตสำรวมแล้วด้วยศีลสังวร ชื่อว่าผู้ถึงที่สุดแห่งเวท เพราะถึงที่สุด
คือพระนิพพานซึ่งเป็นสุดสิ้นสังขาร หรือที่สุดแห่งเวท ด้วยเวททั้งหลาย
กล่าวคือมรรคญาณ 4. ชื่อว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เพราะอยู่จบมรรค-
พรหมจรรย์. บุคคลผู้กล่าววาทะเป็นพราหมณ์โดยธรรม คือกล่าววาทะว่า
เป็นพราหมณ์โดยธรรม คือโดยชอบธรรมนั้น (เขา) ไม่มีกิเลสเครื่องฟู
ขึ้นเหล่านี้ ได้แก่กิเลสเครื่องฟูขึ้น คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ
ในที่ไหนๆ คือแม้ในอารมณ์เดียว ในโลกสันนิวาสทั้งสิ้น อธิบายว่า
ละได้โดยสิ้นเชิง.
จบอรรถกถาอชปาลนิโครธสูตรที่ 4

5. เถรสูตร



ว่าด้วยพระเถระผู้ใหญ่เข้าเฝ้า



[42] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระ-